ข้อมูลเทศบาล
ร้อยตำรวจตรี สุภาพ  ยะมะโน - นายกเทศมนตรีตำบลริมเหนือ<br>โทร. 081-0270417

ร้อยตำรวจตรี สุภาพ ยะมะโน

นายกเทศมนตรีตำบลริมเหนือ
โทร. 081-0270417

นายดำรงค์ ศรีจันทร์ - รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทน<br>ปลัดเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายดำรงค์ ศรีจันทร์

รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทน
ปลัดเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายสุรพล อุปพันธ์ - ประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายสุรพล อุปพันธ์

ประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ

lotusประวัติเทศบาลและข้อมูลทั่วไป

ประวัติเทศบาลและข้อมูลทั่วไป

1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

เทศบาลตำบลริมเหนือ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอำเภอแม่ริม ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม ประมาณ 3 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ จำนวน 2,721.25 ไร่ หรือ 5.074 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลสันโป่ง

ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลริมใต้

ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลเหมืองแก้ว

ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลแม่แรม และตำบลห้วยทราย

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ทุกหมู่บ้านจะมีแม่น้ำแม่ริมไหลผ่าน พื้นที่โดยทั่วไปจะเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งชุมชนดั้งเดิม และหมู่บ้านจัดสรร สลับกับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร ได้แก่ ทุ่งนาและพืชสวน เนื่องจากมีแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรตลอดทั้งปีโดยอาศัยเขตชลประทานแม่แตง

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35องศาเซลเซียส และในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ สภาพภูมิอากาศค่อนข้างเย็น มีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 19 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนในช่วง เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน และมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ เดือนสิงหาคม

1.4 ลักษณะของดิน

พื้นที่ตำบลริมเหนือตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่ริมจึงทำให้ลักษณะของดินส่วนใหญ่จะเป็นดินร่วนปนทรายเนื้อดินค่อนข้างละเอียด มีการระบายน้ำได้ดี การแบ่งการใช้ประโยชน์จากที่ดินนอกจากจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีพื้นที่ทำนาโดยอาศัยน้ำจากชลประทาน

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

เทศบาลตำบลริมเหนือมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งตำบลริมเหนือแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน มีจำนวนหมู่บ้าน ทั้งสิ้น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านเหมืองผ่า

หมู่ที่ 2 บ้านท้องฝาย

หมู่ที่ 3 บ้านหัวดง

หมู่ที่ 4 บ้านเกาะ

หมู่ที่ 5 บ้านเหมืองผ่ารวมใจ

2.2 การเลือกตั้ง

เทศบาลตำบลริมเหนือ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต ดังนี้

- เขตที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเหมืองผ่า หมู่ที่ 2 บ้านท้องฝาย(บางส่วน) และหมู่ที่ 5 บ้านเหมืองผ่ารวมใจ

- เขตที่ 2 ได้แก่ หมู่ที่ 2 บ้านท้องฝาย หมู่ที่ 3 บ้านหัวดง และ หมู่ที่ 4 บ้านเกาะ

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

     ข้อมูลเปรียบเทียบสถิติข้อมูลประชากรเทศบาลตำบลริมเหนือ

ปี พ.ศ. 2566

ชื่อหมู่บ้าน

ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

บ้านเหมืองผ่า

660

450 502 952

บ้านท้องฝาย

296

289 357 646

บ้านหัวดง

361

333 441 774

บ้านเกาะ

212

239 234 473

บ้านเหมืองผ่ารวมใจ

315

297 329 626

    รวม

1,844 1,608 1,863 3,471

ข้อมูล : สำนักทะเบียน อำเภอแม่ริม (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566)


3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ช่วงอายุ

ชาย

หญิง

จำนวน(คน)

อายุ ต่ำกว่า 10 ปี

113 118 231

อายุ 11 – 15 ปี

76 63 139

อายุ 16 – 20 ปี

79 78 157

อายุ 21 – 30 ปี

194 202 396

อายุ 31 – 40 ปี

265 258 523

อายุ 41 – 50 ปี

240 289 529

อายุ 51 – 60 ปี

213 326 539

อายุ 61 – 70 ปี

276 346 622

อายุ มากกว่า 70 ปี

152 183 335

    รวม

1,608 1,863 3,471

4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา

    พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีศูนย์ กศน.ตำบลริมเหนือ จำนวน 1 แห่ง และสถานศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

            1. โรงเรียนมูลนิธิมหาราช 5 (โรงเรียนประถมศึกษา)

- มีนักเรียนจำนวน 158 คน

- มีอาจารย์จำนวน 10 คน

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

- มีนักเรียนจำนวน            29 คน

- มีครูผู้ดูแลเด็กจำนวน        1  คน

- มีผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก         1  คน

4.2 สาธารณสุข

    พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานทุกหมู่บ้านและมีข้อมูลสาธารณสุข ดังนี้

             - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง

- คลินิกแพทย์ 1 แห่ง

- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง

4.3 อาชญากรรม/ยาเสพติด

     พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ไม่มีปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรง และไม่มีปัญหาด้านยาเสพติด

4.4 การสังคมสงเคราะห์

     ในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ได้มีการจัดกิจกรรมการสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

          - การตรวจเยี่ยมผู้ป่วย ติดบ้าน ติดเตียง

          - การจัดสร้างบ้านเทิดไท้ฯ แก่ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย

          - การให้บริการ รับ ส่ง ผู้ป่วยที่เป็นผู้ยากไร้ ไปโรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ เป็นต้น


5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

     การคมนาคมขนส่งติดต่อระหว่างอำเภอและตำบลใกล้เคียง ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่ ฝาง) และถนนทางหลวงชนบท 3009 สำหรับการติดต่อระหว่างหมู่บ้านภายในตำบล มีเส้นทางคมนาคม 56 สายทาง ระยะทางประมาณ 19.21 กิโลเมตร ประกอบด้วย

- ถนนลาดยาง 6.03 กิโลเมตร

- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 12.22 กิโลเมตร

- ถนนลูกรัง 0.96 กิโลเมตร

5.2 การไฟฟ้า

        พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน

5.3 การประปา

     พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านท้องฝาย หมู่ที่ 2 และบ้านเกาะ หมู่ที่ 4 ส่วนหมู่บ้านที่ไม่มีประปาหมู่บ้าน จะใช้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาแม่ริม ซึ่งอยู่ในเขตการจ่ายน้ำประปา

5.4 โทรศัพท์

     พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน และมีสายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ทุกหมู่บ้าน

5.5 ระบบโลจิสติกส์(Logistics) หรือการขนส่ง

    พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีบริษัทขนส่งสินค้าของเอกชน สำหรับขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ และสามารถไปใช้บริการส่งจดหมาย ส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ ได้ที่ทำการไปรษณีย์แม่ริม หรือบริษัทเอกชนอื่นๆได้อีกซึ่งอยู่ห่างจากตำบลริมเหนือประมาณ  2 กิโลเมตร


6. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

     ระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ได้แก่ การทำนาปี ตามด้วยถั่วเหลือง  หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ เพราะใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าข้าวอีกทั้งยังเป็นการช่วยบำรุงดิน  ยกเว้นในบางพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำไม่สามารถควบคุมน้ำได้ก็จะปลูกข้าวนาปรัง สำหรับที่ดอนจะปลูกพืชผักตามฤดูกาล เช่น ข้าวโพดหวาน กะหล่ำดอก บล๊อกโคลี่ บวบ พริก และไม้ดอก เช่น เบญจมาศ เป็นต้น

6.2 การประมง

               พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ส่วนใหญ่จะทำประมงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ได้แก่ ปลาดุกอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลานิล ปลาช่อน ปลายี่สก และมีการเลี้ยงกบ เป็นต้น

6.3 การปศุสัตว์

               พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ มีการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้ โคขุน 2 พันธ์ ได้แก่ พันธุ์บาร์มัน, พันธุ์พื้นเมือง, โคนม พันธุ์ดำ-ขาว, กระบือพันธุ์พื้นเมือง, สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์, ไก่มีการเลี้ยง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สามสายเลือด พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ประดู่หางดำ และมีการเลี้ยงเป็ดพันธุ์พื้นเมือง

6.4 การบริการ

     หน่วยธุรกิจในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ

- ปั๊มน้ำมัน (หลอด) 1 แห่ง

- โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง

- บริษัท 3 แห่ง

- ร้านค้า 46 แห่ง

- ห้องเช่า / บ้านเช่า 35 แห่ง

-  สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์                1        แห่ง

6.5 การท่องเที่ยว

     พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

- วัดเจดียสถาน หมู่ที่ 1

- พระธาตุอินทร์แขวนจำลองและเจดีย์เก่า ในวัดหัวดงสามัคคีธรรม หมู่ที่ 3

- บ้านควายไทย หมู่ที่ 5

6.6 อุตสาหกรรม

     พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

                         - บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด (โรงงานผลิตซอสมะเขือเทศ สามแม่ครัว)

                        - บริษัท วี.พี.เอฟ.กรุ๊ป จำกัด (โรงงานเลี้ยงสุกร)

                        - ห้างหุ้นส่วนจำกัด มาสเตอร์คลีนลอนดรี้ แอนด์ เซอร์วิส (โรงงาน ซัก อบ รีด เสื้อผ้า)

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

     กลุ่มอาชีพที่สำคัญในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ได้แก่

- กลุ่ม 9 อุ้ย หมู่ที่ 1

- กลุ่มดอกไม้จันทร์ หมู่ที่ 1

- กลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 3

- กลุ่มทำกระเป๋าผ้า หมู่ที่ 4

- กลุ่มจักรสาน หมู่ที่ 5

6.8 แรงงาน

     ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือ ร้อยละ 50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งในพื้นที่มีปัญหาแรงงานเนื่องจากมีแรงงานแฝงจากต่างถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีต่างด้าวที่เข้ามาโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพื่อใช้แรงงาน


7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

7.1 การนับถือศาสนา

               ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีข้อมูลศาสนาสถาน ได้แก่ วัดและสำนักสงฆ์ 5 แห่ง ดังนี้

1. วัดเจดียสถาน  (หมู่ที่ 1 )

2. อารามสันติสุข  (หมู่ที่ 1)

3. วัดหัวดงสามัคคีธรรม  (หมู่ที่ 3)

4. วัดธรรมะสันติเจดีย์ (วัดทุ่งล้อม) (หมู่ที่ 3)

5. สำนักสงฆ์ร่มไทรคำ  (หมู่ที่ 4)

7.2 ประเพณีและงานประจำปี

                 พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีงานประเพณีและงานประจำปี ได้แก่

                 - งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ช่วงเดือน เมษายน ของทุกปี

- งานลอยกระทง ช่วงเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ดังนี้

7.3.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

- การจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 5 เช่น สุ่มไก่ เข่งใส่ผัก ที่วางต้นไม้(ซ้อล้อ) เป็นต้น

- การทำอิฐมอญ และการทำอิฐบล็อก หมู่ที่ 4

- การทำน้ำพริกตาแดง หมู่ที่ 1

- การรักษาโรคโดยสมุนไพรพื้นบ้าน หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 4

- การตัดตุง ทำสะตวงล้านนา ทุกหมู่บ้าน

- การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ทุกหมู่บ้าน

7.3.2 ภาษาถิ่น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือส่วนใหญ่เป็นคนถิ่นฐานเดิมไม่มีการอพยพมาจากพื้นที่อื่น ซึ่งภาษาถิ่นได้แก่ภาษาล้านนา และอักษรล้านนา แต่ผู้ที่เขียนอักษรล้านนาได้ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ และผู้ที่เคยบวชเรียน เท่านั้น

7.4 OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

พื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือมีสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ดังนี้

7.4.1 สินค้าพื้นเมืองและสินค้าพื้นบ้าน ได้แก่

- แคบหมู

- น้ำพริกตาแดง

- พริกลาบ

- ข้าวฮางงอก ข้าวกล้องงอก

- สุ่มไก่

- เข่งใส่ผัก ฯลฯ

7.4.2 ของที่ระลึก ได้แก่

- ผลิตภัณฑ์กลุ่ม 9 อุ้ย เช่น ยาดม ยาหม่อง ลูกประคบ น้ำมันหอมระเหย น้ำมันเหลือง ฯลฯ

- กระเป๋าเมคราเม่ (กระเป๋าถัก) หมู่ที่ 3

- กระเป๋าผ้าเย็บมือ หมู่ที่ 4 ฯลฯ


แชร์ให้เพื่อน: