ข้อมูลเทศบาล
ร้อยตำรวจตรี สุภาพ  ยะมะโน - นายกเทศมนตรีตำบลริมเหนือ<br>โทร. 081-0270417

ร้อยตำรวจตรี สุภาพ ยะมะโน

นายกเทศมนตรีตำบลริมเหนือ
โทร. 081-0270417

นายดำรงค์ ศรีจันทร์ - รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทน<br>ปลัดเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายดำรงค์ ศรีจันทร์

รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทน
ปลัดเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายสุรพล อุปพันธ์ - ประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ

นายสุรพล อุปพันธ์

ประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ

lotusข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน คืออะไร มีกี่ประเภท

ภาษีที่ดิน หรือ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ได้มาแทนที่ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยผู้ที่เคยเสียภาษีทั้งสองประเภทนี้ไปแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีซ้ำอีก แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน ซึ่งภาษีที่ดินใหม่นี้จะจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี โดยแบ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ที่อยู่อาศัย
  • เกษตรกรรม
  • อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย
  • ที่รกร้างว่างเปล่า

วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีที่ดินใหม่

ทั้งนี้ การออกข้อตกลงการเสียภาษีที่ดินแบบใหม่นั้น ก็เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านการใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครับ อาทิ แก้ปัญหาเรื่องภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ลดความเหลื่อมล้ำของความรวยและความจน, แก้ปัญหาที่ดินรกร้าง ให้ทำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น, เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของรัฐว่ามีการเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมในท้องถิ่นครับ

1. ที่อยู่อาศัยหลังแรก (ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

  • มีบ้าน 1 หลัง พร้อมที่ดิน โดยบ้านและที่ดินมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

  • มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563 - 2564 จะเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของบ้านและที่ดิน ตั้งแต่ 0.03 - 0.10% และหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 0.3% ค่ะ

wdin001


วิธีคำนวณภาษีที่ดิน สำหรับคนที่มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป

ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = (มูลค่าบ้าน - มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น) x อัตราภาษีที่ดิน

ตัวอย่าง กรณีมูลค่าบ้านเกิน 50 ล้าน ให้นำตัวเลขเฉพาะส่วนที่เกินมาคำนวนภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย เช่น มูลค่าบ้าน 70 ล้าน และมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นคือ 50 ล้าน สูตรการคำนวณภาษีที่ดินคือ (70,000,000 - 50,000,000) x 0.03% เท่ากับว่าเราจะเสียภาษีที่ดิน (ช่วง 2 ปีแรก) จำนวน 6,000 บาท หรือล้านละ 600 บาทค่ะ

2. ที่อยู่อาศัยที่เราเป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน (บ้านหลังแรกและมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
  • กฎหมายก็ยกเว้นภาษีที่ดินให้เช่นกัน โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้านมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีค่ะ

  • ส่วนคนที่เป็นเจ้าของบ้าน มูลค่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563 - 2564 ต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาของสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02 - 0.10% แล้วหลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 0.3% ค่ะ
wdin002
 
ส่วนวิธีคำนวณภาษีที่อยู่อาศัยที่เราเป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เหมือนกับกรณีที่อยู่อาศัยหลังแรก โดยต้องลบมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ออกไปก่อน ซึ่งกรณีนี้คือ 10 ล้านบาทแรก แล้วค่อยนำมูลค่าที่เหลือมาคูณอัตราภาษีที่ดินค่ะ

3. ที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นต้นไป

กรณีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 จะไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563 - 2564 ต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02 - 0.10% และหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 0.3% ค่ะ

wdin003

วิธีคำนวณภาษีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นต้นไป

ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าบ้าน/คอนโด x อัตราภาษีที่ดิน

ตัวอย่าง มูลค่าคอนโดฯ 3 ล้านบาท 3,000,000 x 0.02% เท่ากับเราต้องเสียภาษีที่ดิน 600 บาท (ช่วง 2 ปีแรก) หรือล้านละ 200 บาทค่ะ

4. ที่ดินทำการเกตษร กรณี “บุคคลธรรมดา”  (ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว)
  • สำหรับเกษตรกรทั่วไป ที่มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนเกษตรกร ที่มีที่ดินมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ช่วง 3 ปีแรก คือ 2563 - 2565 กฎหมายยกเว้นให้ ยังไม่ต้องเสียภาษี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เวลาประชาชนเตรียมตัว และจากนั้นปี 2566 เป็นต้นไป เกษตรกรที่มีที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15% ค่ะ
wdin004

วิธีคำนวณภาษีที่ดินทำการเกตษร กรณี “บุคคลธรรมดา”

ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน - มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น 50 ล้าน) x อัตราภาษีที่ดิน

5. ที่ดินทำการเกษตร กรณี “นิติบุคคล” (ขึ้นทะเบียนเป็นบริษัททำเกษตรกรรมแล้ว)
  • กรณีบริษัทที่ทำการเกษตร ไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนบุคคลธรรมดา โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563 - 2564 จะต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.01 - 0.10% ค่ะ

  • หลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15% ค่ะ
wdin005

6. อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ ฯลฯ
  • หากเรามีที่ดินเปล่า และไม่ได้ใช้ปลูกบ้านหรือทำเกษตรกรรม โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563 - 2564 จะต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.3 - 0.7% และหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 1.2% ค่ะ

  • กรณีที่เรามีที่อยู่อาศัยหลายแห่ง แต่ไม่ได้อาศัยอยู่ทุกแห่ง จะเข้าข่ายเป็นบ้านหลังที่ 2 หรืออื่น ๆ นั้น เราสามารถทักท้วงการเรียกเก็บภาษีจากหน่วยงานของรัฐ หลังจากได้รับเอกสาร “แบบประเมินภาษี” ค่ะ
wdin006 
 
7. ที่ดินว่างเปล่า
  • สำหรับที่ดินว่างเปล่า และไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ ช่วง 2 ปีแรก ตั้งแต่ปี 2563 - 2564 จะต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.3% และหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 1.2%

  • หากเป็นที่ดินทิ้งร้างติดต่อกัน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3% ค่ะ
wdin007


ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีจะต้องเสียภาษีที่ดินทุกปี และต้องชำระภายในเดือน เม.ย. ของปีนั้น ๆ ยกเว้นปี 2563 สามารถชำระภาษีได้ถึงเดือน ส.ค. 2563 


 ภาษีป้าย

ภาษีป้าย (กำหนดระยะเวลาในการยื่นแบบชาระภาษีป้าย เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี) หมายถึง ป้ายที่แสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดง หรือ โฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วย อักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น 

 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย 

1. เจ้าของป้าย 

2. ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัว เจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้เสียภาษีป้ายถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือ ว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้าย 

 กำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีป้าย 

1. ให้เจ้าของหรือครอบครองป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายได้ที่เจ้าพนักงานจัดเก็บ และพัฒนารายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายในเดือนมกราคม- มีนาคม ของทุกปี 

2. ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิมหรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ป้ายใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข 

3. ในกรณีที่มีการโอนย้าย (เปลี่ยนเจ้าของ) ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับโอน 

 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงเพื่อเสียภาษีป้าย 

1. บัตรประจำตัวประชาชน 

2. ทะเบียนการค้า,ทะเบียนพาณิชย์ 

3. ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา (ในกรณีที่ได้ช าระภาษีป้ายมาแล้ว) 

4. สำเนาทะเบียนบ้าน 

5. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

6. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท 

7. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย 

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย

 1. ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภป.1) พร้อมหลักฐาน

 2. ผู้เสียภาษีต้องมาช าระเงินค่าภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้แจ้งการประเมิน มิฉะนั้น ต้องเสียเงินเพิ่ม 

 อัตราภาษีป้าย

 1. ป้ายอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 5 บาท : 500 ตารางเซนติเมตร 

 2. ป้ายอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพ หรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 26 บาท : 500 ตารางเซนติเมตร 

 3. ป้ายต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 50 บาท: 500 ตารางเซนติเมตร - ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ - ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ ากว่าอักษรต่างประเทศ 

 4. ป้ายตาม 1,2,3 เมื่อค านวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท 

 5. กรณีป้ายที่ติดตั้งปีแรก คิดภาษีเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน 

      - งวดที่ 1 เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม - มีนาคม คิดภาษี 100% 

      - งวดที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือน เมษายน -มิถุนายน คิดภาษี 75% 

      - งวดที่ 3 เริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม -กันยายน คิดภาษี 50% 

      - งวดที่ 4 เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม -ธันวาคม คิดภาษี 25% 

เงินเพิ่ม หน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้ 

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบของค่า ภาษี ป้ายเว้นแต่กรณีเจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบ ถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของค่าภาษี 

2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องตามจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายลด น้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีเจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบ แสดง รายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน 

3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของค่าภาษีป้าย เศษของเดือนนับเป็นหนึ่งเดือนทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตามข้อ 1 และ ข้อ 2 มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย 

 บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย

 1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำ พยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท 

3. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท 

4. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่วนบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับป้ายมาตรวจสอบภายในกำหนดเวลา อัน สมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

 การอุทธรณ์การประเมินภาษีป้าย

 เมื่อผู้เสียภาษีได้แจ้งการประเมิน (ภป.3) แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์ การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายโดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่ที่ได้รับแจ้ง คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันรับ แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การขอคืนเงินภาษีป้าย ผู้เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสีย ผู้นั้นมีสิทธิ์ขอรับ เงินคืนได้โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย 


ค่าธรรมเนียมการจำกัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็น สิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น

 “มูลฝอย” หมาย ความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่ อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจาก ถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น 

“ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชน สามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ 

“อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สานักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่าง อื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ 

 หลักฐานในการยื่นขออนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย 

1. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด 

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด 


การจดทะเบียนพาณิชย์

 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดา คนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่ง ประกอบกิจการค้าอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด 

 กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์ 

 ผู้ประกอบกิจการค้าต้องยื่นจดทะเบียนภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการค้า หรือ วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนหรือวันเลิกประกอบกิจการค้า 

 การจดทะเบียนพาณิชย์ มี 3 ประเภท ได้แก่ 

1. จดทะเบียนพาณิชย์ (จัดตั้งใหม่) 

2. จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนพาณิชย์ 

3. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 

 อัตราโทษและค่าปรับ 

 ความอาญาตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.๒๔๙๙ ความผิดตามมาตรา ๑๙ ต้องรับผิดกรณี 

 ๑. ผู้ประกอบพาณิชยกิจใดไม่จดทะเบียน พาณิชย์ไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการหรือไม่ จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ หรือ 

 ๒. ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใดแสดงรายการเท็จ หรือ 

 ๓. เมื่อนายทะเบียนพาณิชย์เรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใดสอบสวน ข้อความอันเกี่ยวกับ การจด ทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้นั้นไม่มาหรือไม่ ยอมให้ถ้อยคำ หรือ 

 ๔. ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใดไม่ยอมให้ นายทะเบียนพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไป ตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจมีความผิดต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และในกรณี ตามข้อ (๑) อันเป็นความผิดต่อเนื่องกัน ให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติฯ 

 อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ 

1 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ 50 

2 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 

3 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 

4 ค่าธรรมเนียมขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 

5 ค่าธรรมเนียมขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ของ ครั้งละ ผู้ประกอบการพาณิชยกิจรายหนึ่ง 20 

6 ค่าธรรมเนียมขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ เอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง 30 

แชร์ให้เพื่อน: